ส่วนประสานงานกับผู้ใช้ ( User Interface )

 
       
 

ส่วนประสานงานกับผู้ใช้ ( User Interface ) การสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างที่เราต้องการ ผู้ใช้จะต้องป้อนข้อมูลและชุดคำสั่งต่าง ๆ ให้กับคอมพิวเตอร์เสียก่อน โดยผ่านส่วนที่ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้งาน หรือเรียกว่า ส่วนประสานงานกับผู้ใช้ ( user interface ) ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

ประเภทคอมมานด์ไลน์ (Command Line ) เป็นส่วนประสานงานกับผู้ใช้ที่อนุญาตให้ป้อนรูปแบบคำสั่งที่เป็นตัวหนังสือ (text ) สั่งการลงไปด้วยตนเองเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการทีละบรรทัดคำสั่งหรือ คอมมานด์ไลน์ (command line )

ประเภทกราฟิก (GUI – Graphical User Interface ) การใช้งานแบบคอมมานด์ไลน์ที่ต้องป้อนข้อมูลชุดคำสั่งทีละบรรทัดนั้น ทำให้เกิดความไม่สะดวกและยุ่งยากกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์มากพอสมควร โดยเฉพาะกับคนผู้ที่ไม่ชำนาญการหรือไม่สามารถจดจำรูปแบบของคำสั่งต่าง ๆ เหล่านั้นได้ ดังนั้นจึงมีการพัฒนาระบบคำสั่งงานคอมพิวเตอร์แบบใหม่โดยปรับมาใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์ในการสั่งงานมากยิ่งขึ้น บางครั้งนิยมเรียกระบบนี้ว่า กิวอี้ (GUI – Graphical User Interface ) ดังที่จะเห็นได้ในระบบปฏิบัติการ Windows ที่ไดรับความนิยมอย่างแพร่หลายนั่นเองรูปแบบของกิวอี้นี้ ผู้ใช้อาจจะไม่จำเป็นต้องจดจำรูปแบบคำสั่งเพื่อใช้งานให้ยุ่งยากเหมือนกับแบบคอมมานด์ไลน์ก็สามารถใช้งานได้แล้ว โดยเพียงแค่รายการคำสั่งภาพที่ปรากฏบนจอนั้นผ่านอุปกรณ์บางอย่าง เช่น เมาส์หรือคีย์บอร์ด เป็นต้น

 
     
 
 
     
 
เคอร์เนลและเซลล์ในระบบปฏิบัติการ
 
     
 
การทำงานของคอมพิวเตอร์