ซอฟต์แวร์ (Software)
 
       
 
องค์ประกอบด้านซอฟต์แวร์
 
 

ซอฟต์แวร์ คือ กลุ่มของชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามต้องการ การที่คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างอัตโนมัติโดยที่มนุษย์ไม่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องในการประมวลผลนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการทำงานของซอฟต์แวร์นั่นเอง โดยปกติแล้วผู้เขียนชุดคำสั่งนี้ขึ้นมาเรามักเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม ( programmer )

 
  โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ    
       
 
การจัดการซอฟต์แวร์มาใช้งาน
 
ระบบปฏิบัติการ
 
โปรแกรมอรรถประโยชน์ี้
 
ซอฟต์แวร์ประยุกต์
 
       
 
  • ซอฟต์แวร์ระบบ ( System Software ) เป็นซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการทำงานที่ใกล้ชิดกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยจะทำหน้าที่ติดต่อ ควบคุม และสั่งการให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกันให้ได้มากที่สุด รวมถึงการบำรุงรักษาระบบตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีการใช้งานได้ยาวนานขึ้นอีกด้วย ซอฟต์แวร์ระบบแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ
  • ระบบปฏิบัติการ ( operating systems )
  • โปรแกรมอรรถประโยชน์ ( utility programs )
 
       
 
  • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software ) เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้เฉพาะด้านเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระบบของคอมพิวเตอร์ แต่จะทำงานได้โดยเรียกใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านซอฟต์แวร์ระบบอีกทอดหนึ่งดังที่กล่าวแล้วในบทที่ผ่านมา ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้สามารถแบ่งออกได้หลายชนิดขึ้นอยู่กับลักษณะเกณฑ์ที่ใช้แบ่ง ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้
  • แบ่งตามลักษณะการผลิต ได้ 2 ประเภท คือ
    - ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เองโดยเฉพาะ ( Proprietary Software )
    - ซอฟต์แวร์ที่หาซื้อได้โดยทั่วไป ( Off – the– Shelf Software หรือ Packaged Software )
  • แบ่งตามกลุ่มการใช้งาน ได้ 3 กลุ่มใหญ่คือ
    - กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ ( business )
    - กลุ่มการใช้งานทางด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย ( graphic and multimedia )
    - กลุ่มสำหรับการใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร ( web and communications )
 
       
 
 
       
 
กิจกรรมการเรียน
กลับไปด้านบน  

  ออกจากบทเรียนซอฟต์แวร์   | แหล่งเรียนรู้